Anti-Torture Act – New Legal Protection Tools For Refugees

On 19 May 2023, Asylum Access Thailand (AAT) and the Cross Cultural Foundation (CrCF) hosted an event to raise awareness and discuss legal issues under the Act on the Prevention and Suppression of Torture and Enforced Disappearance B.E. 2565 (2022) (also known as the “Anti-Torture Act”) as a mechanism for protection of refugee rights. The hybrid event featured lecturers from the Cross Cultural Foundation (CrCF) the Research Institute for Developing Investigation and Prosecution under the Office of the Attorney-General, along with participants from civil society organizations, legal practitioners, and others.

A total of 67 participants attended the event, both in-person and via online channels.

One of the provisions discussed that is directly relevant to refugee rights protection is Section 13 of the Anti-Torture, which prohibits state officials to expel, deport, or extradite a person to another state where there are substantial grounds for believing that the person would be in danger of torture, cruel, inhuman, or degrading treatment, or enforced disappearance; in line with the non-refoulement principle.

For this, Section 13 of the Anti-Torture Act may prevent refugees from deportation back to country of origin, if there are grounds to believe that such refugee may be subject to torture.

In addition, Section 22 of the Anti-Torture Act requires state officials to continuously record audio and video throughout the arrest and detention process, until the person is delivered to the inquiry official or released. Therefore, it is expected that this section could raise security standards of individuals, including refugees, while in police custody.

On 18 May 2023, the day before the event, Thailand’s Constitutional Court ruled that the emergency decree previously issued to postpone implementation of four provisions of the Anti-Torture Act (including the provision that requires officials to continuously record audio and video during arrests and detention), is unconstitutional. As a result, all provisions under the Anti-Torture Act have come into full effect since February 2023.

Resource person K. Pornpen Khongkachonkiet (Director of CrCF) and K’ Namtaee Meeboonsalang (Director of Research Institute for Developing Investigation and Prosecution).

เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 23 Asylum Access Thailand (AAT) ร่วมกับ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม Cross Cultural Foundation (CrCF) ได้จัดเวทีให้ความรู้และพูดคุยเกี่ยวกับ พรบ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ในแง่มุมการเป็นเครื่องมือที่สามารถให้ความคุ้มครองทางกฎหมายแก่กลุ่มผู้ลี้ภัย โดยผู้เชี่ยวชาญจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการสอบสวนและการดำเนินคดี สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้บรรยายให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภาคประชาสังคม นักกฎหมาย และผู้สนใจทั่วไป โดยเป็นการจัดเวทีแบบ Hybrid

ในงานนี้มีผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งด้วยตนเอง และผ่านทางสื่อออนไลน์ถึง 67 คน โดยมีเนื้อหากฎหมายที่น่าสนใจสำหรับผู้ทำงานเพื่อสิทธิของผู้ลี้ภัยใน #มาตรา13 ของพรบ. ซึ่งวางหลักห้ามหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐขับไล่ ส่งกลับ หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้น จะไปตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกกระทำทรมาน ถูกกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือถูกกระทำให้สูญหาย ซึ่งเป็นไปตามหลักการสากลในเรื่องการห้ามผลักดันไปเผชิญอันตราย หรือ Non-Refoulement

โดยสรุป มาตรา 13 จึงให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยมิให้ถูกส่งกลับ (Deport) ไปยังประเทศต้นทาง (Country of Origin) หากมีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจเกิดอันตรายที่จะถูกกระทำทรมาน

อีกประการหนึ่ง #มาตรา22 ของพรบ.ดังกล่าว กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุมตัวบุคคล จนกระทั่งมีการส่งตัวบุคคลให้พนักงานสอบสวนหรือเมื่อมีการปล่อยตัว จึงคาดการณ์ได้ว่าหลักการนี้อาจยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของบุคคล รวมถึงผู้ลี้ภัย ขณะที่อยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจได้

ทั้งนี้ก่อนวันงานในวันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ทางศาลรัฐธรรมนูญมีมติแปดต่อหนึ่ง ให้ปัดตกพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.ดังกล่าว เนื่องจากพรก.แก้ไขเพิ่มเติมพรบ.ดังกล่าวที่ต้องการยื้อข้อบังคับบางประการ (เช่น การกำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องบันทึกภาพและวิดีโอในระหว่างการจับกุมและคุมตัว) ไม่เข้าเงื่อนไขในการออก พรก. จึงขัดรัฐธรรมนูญ

ขอบคุณข้อมูลจากเพจของ ilaw: https://ilaw.or.th/node/6528

นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ พรก. ดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้ ดังนั้น พรบ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหายฯ จึงมีผลบังคับใช้ทั้งฉบับ ตามที่บังคับใช้มาแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมา